Skip to main content

 หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงาน

ไม่ว่าจะโรงงานใหญ่หรือเล็ก ถ้าหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในระยะยาว อย่างไรก็หนีไม่พ้นการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานจะมีดังนี้

หุ่นยนต์อเนกประสงค์

หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น “แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด งานตรวจสอบต่างๆ

 

รูปภาพนวัตกรรมหุ่นยนต์ Nachi

 

โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม

หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

การประกอบ

โคบอทมีบทบาทสำคัญในโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่ง นั่นรวมไปถึงการประกอบชิ้นส่วน หุ่นยนต์อัตโนมัติสามารถจัดการกับงานที่ซ้ำซากจำเจในสายการผลิตได้ เช่น การติดที่จับประตูและที่ปัดน้ำฝน ซึ่งช่วยให้พนักงานที่เป็นมนุษย์มีอิสระในการทำงานที่มีมูลค่ามากกว่า โคบอทที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงกว่า เช่น UR16e (น้ำหนักบรรทุก 16 กก./35.3 ปอนด์) สามารถจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เช่น ล้อ ฝากระโปรงรถและฝากระโปรงหน้าเครื่องยนต์



การลงสี

หุ่นยนต์พ่นสีได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการผลิตรถยนต์ หุ่นยนต์สามารถพ่นสีได้สม่ำเสมอและพร้อมใช้งานตลอดเวลา ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดเทียบได้ นอกจากนี้ สีรถยนต์ยังเป็นพิษ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อคนงานที่เป็นมนุษย์ งานต่าง ๆ เช่น การลงสีได้อย่างสม่ำเสมอบนพื้นผิวขนาดใหญ่นั้นควรใช้แขนหุ่นยนต์จัดการดีที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป ความแม่นยำและประสิทธิภาพที่หุ่นยนต์มอบให้ในงานพ่นสี จะช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการสิ้นเปลืองสีน้อยลงและขจัดข้อผิดพลาดของมนุษย์



หุ่นยนต์กับงานเชื่อม

งานเชื่อมเหมาะอย่างยิ่งสำหรับโคบอท เพราะเป็นอีกหนึ่งงานที่อันตรายและใช้เวลานาน โคบอทสามารถจัดการกับอาร์ค, TIG, เลเซอร์, MIG, อัลตราโซนิก, พลาสม่า และการเชื่อมเฉพาะจุด รวมถึงการประสานและบัดกรี แพลตฟอร์ม UR+ มีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นใช้งานการเชื่อมยานยนต์ของคุณ ตัวอย่างเช่น ระบบการเชื่อม Olympus ของ UR เป็นโซลูชันการเชื่อมราคาประหยัดที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดเล็ก




การหยิบชิ้นงานเข้าเครื่องจักร

การหยิบชิ้นงานเข้าเครื่องจักรเป็นหนึ่งในงานที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์ทำงานร่วม เพราะเป็นงานที่น่าเบื่อ มักจะสกปรก และบางครั้งก็อันตราย ไม่น่าแปลกใจเลยที่การหยิบชิ้นงานเข้าเครื่องจักรได้กลายเป็นหนึ่งในการใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับโคบอทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา


หุ่นยนต์กับการกำจัดเศษวัสดุและขัดเงา

การกำจัดเศษวัสดุและการขัดชิ้นส่วนเป็นกระบวนการที่สำคัญในการผลิตรถยนต์ กระบวนการเหล่านี้รวมถึงการทำความสะอาดชิ้นส่วนยานยนต์ตลอดทางด้วยการตัดแต่งโลหะหรือขัดแม่พิมพ์เพื่อให้ผิวเรียบ เช่นเดียวกับงานที่หลายอย่างในการผลิตรถยนต์ งานเหล่านี้ซ้ำซากและบางครั้งก็อันตราย ซึ่งสร้างโอกาสในการทำงานให้กับหุ่นยนต์ ในงานกำจัดเศษวัสดุรวมถึงการเจียร ลบคม กัด ขัด กำหนดเส้นทางงาน และเจาะ

การตรวจสอบคุณภาพ

กระบวนการตรวจสอบคุณภาพสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างการผลิตที่ประสบความสำเร็จกับความล้มเหลวที่มีราคาแพงและใช้แรงงานเยอะ อุตสาหกรรมยานยนต์ใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ UR+ นำเสนอฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่หลากหลายซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้คุณทำงานตรวจสอบคุณภาพยานยนต์ได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงการตรวจสอบเพื่อความสวยงามและการวัด 


https://www.universal-robots.com/th/blog/6-%E0%B8%95-%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB-%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95-%E0%B8%AD-%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD-%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95/
หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

    หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น

  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/53/group04/nattaka/template_group04.html


หุ่นยนต์อัจฉริยะ

 ปัจจุบันนี้ สมาร์ทโฟนหลายๆค่าย เริ่มหันมาใช้งานเทคโนโลยีที่พัฒนาให้มีการตอบสนองเหมือนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบการแปลภาษา การแจ้งเตือน ปลดล็อคหน้าจอด้วยใบหน้า (FaceID) หรือการพูดคุยโต้ตอบสอบถามข้อมูล รวมถึง การถ่ายภาพเซลฟี่ (Selfie) บนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีระบบปรับแต่งใบหน้า ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเวลานี้

kisspng logo brain technology 5afec97aef8471.7704486015266471629811

Photo credit: kisspng.com

เทคโนโลยีที่พัฒนาเหมือนมนุษย์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งเราเรียกกันว่า AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence (อาร์ตทิฟิคอล อินทอลนิจิน) หรือปัญญาประดิษฐ์  โดยมีนิยามดังนี้

นิยามของ AI

นิยามของปัญญาประดิษฐ์ มีมากมายหลากหลายอย่าง ซึ่งสามารถมองได้ใน 2 คุณลักษณะ คือ

  1. นิยามที่เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์ กับ นิยามที่เน้นระบบที่มีเหตุผล (แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนมนุษย์)
  2. นิยามที่เน้นความคิดเป็นหลัก กับ นิยามที่เน้นการกระทำเป็นหลัก

ปัจจุบันงานวิจัยหลักๆของ AI จะมีแนวคิดในรูปแบบที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก เนื่องจากการนำ AI ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยอารมณ์ หรือ ความรู้สึกของมนุษย์

นิยามของปัญญาประดิษฐ์ ทั้ง 2 ลักษณะจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans) คือ ความพยายามใหม่ อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์ สามารถเรียนรู้ แก้ปัญหา หรือ ตัดสินใจในเรื่องๆนั้นได้เช่นเดียวกันกับมนุษย์
  2. ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans) คือ การศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้เช่น
    • การสื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
    • มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
    • สามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
    • เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใดๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
  3. ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally) คือ การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญา การคิดอย่างมีเหตุผล หรือ คิดได้อย่างถูกต้อง เช่น ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
  4. ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally) คือ ความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยกระทำอย่างมีเหตุผล เช่น โปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือ เป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น โปรแกรมระบบขับรถอัตโนมัติ ที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ต้องไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ที่กำหนดเอาไว้ ในระยะทางที่สั้นที่สุด แบบนี้ คือ กระทำอย่างมีเหตุผลนั่นเอง

อย่างไรก็ตามนิยามทั้ง 4 ในมุมมอง 2 ลักษณะ ไม่ได้ต่างกันโดยสมบูรณ์ และ นิยามทั้ง 4 ต่างก็มีส่วนร่วมที่คาบเกี่ยวกันอยู่ จะขอยกตัวอย่าง หุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์ที่ใส่เทคโนโลยี AI เข้าไปทำให้สามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์ เช่น

  • หุ่นอัจฉริยะของค่ายแอลจี อีเลคทรอนิคส์ หรือ LG ในสนามบินนานาชาติอินชอน เกาหลีใต้ ที่ให้บริการข้อมูลแก่ผู้โดยสารจำนวนราว 57 ล้านคนจากทั่วโลก ผ่านเสียงพูด รวมทั้งสามารถให้ช่วยเหลือนำพาผู้โดยสารที่หลงทางไปสู่จุดหมายที่ถูกต้องภายในสนามบิน


Photo credit: http://www.lgblogger.com/lg-ces2017/

  • หุ่นยนต์น้องแสนดี (SAN:DEE Delivery Robot) ในเครือบริษัท “แสนสิริ” หุ่นยนต์ตัวแรกที่นำมาใช้ในวงการอสังหาริมทรัพย์ โดยหน้าที่ของแสนดี คือ อำนวยความสะดวกบริการส่งพัสดุ จดหมาย ถึงหน้าห้องลูกบ้าน ยกระดับเรื่องความปลอดภัย โดยป้องกันไม่ให้คนแปลกหน้าเดินขึ้นไปส่งของโดยตรงให้ลูกบ้าน


Photo credit: https://www.sansiri.com

  • Chatbot ผู้ช่วยคอยตอบคำถามเบื้องต้นของลูกค้าได้ตลอดเวลา ทำให้การทำธุรกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน
  • Apple Siri, Google Now, Microsoft Cortana ผู้ช่วยที่สั่งการด้วยเสียง
  • AI Smart Home ระบบบ้านอัจฉริยะจากเทคโนโลยี AI
  • FinTech ด้านการออม เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เงิน ในบัญชีกระแสรายวันที่ไม่มีดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำโดยใช้เทคโนโลยี AI
  • Robo-advisor ผู้ช่วยด้านบริการจัดการด้านการลงทุนโดยอัตโนมัติเป็นต้น

อธิบายโดยสรุป ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ก็คือ วิทยาการด้านปัญญาที่จะมาช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์, หรือจะใส่ซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ลงไปในคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์ช่วยจำลองการทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน โดยเน้นตามแนวความคิดแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนขั้นตอนการเรียนรู้ การคิด การกระทำ การให้เหตุผล การตัดสินใจ การปรับตัว การแก้ปัญหา รวมไปถึงการเลือกแนวทางการดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์ นั้นเอง

อ้างอิง

  • บุญเสริม กิจศิริกุล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บทความสาธารณะ Wikipedia https://th.wikipedia.org/wiki/ปัญญาประดิษฐ์
  • Aware Group : เมื่อเราพูดถึง AI คุณนึกถึงอะไร?





 


Comments

Popular posts from this blog

เครื่องจักร nc cnc dnc

นาย ณัชพล แก้วถาวร 646715035 เครื่องจักร nc cnc dnc  เครื่องจักรNC   ย่อมาจาก Numerical Control  หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่. ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว. ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ        1.ชุดคำสั่ง (Programmed) คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.        2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit) คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเ

เทคโนโลยีการสื่อสาร

  เทคโนโลยีการสื่อสาร   (Communication Technology)   คือเทคโนโลยีดิจิตัล  (Digital Technology) ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ  “การสื่อสาร (Communication) ” หรือ “การขนส่งข่าวสาร (Transfer of Information) ”    เทคโนโลยีการสื่อสาร  ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice)  หรือ ทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  และเป็น เครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก  เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ (Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539) ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร                    เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมี ประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษา